การติดตั้งเครื่องสูบน้ำ แบบอนุกรม และแบบขนาน

การติดตั้งเครื่องสูบน้ำ แบบอนุกรม และแบบขนาน

การติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เพื่อเพิ่มแรงดัน หรืออัตราการไหลให้สูงขึ้นสามารถทำได้ โดยต่อแบบบอนุกรม หรือ ต่อแบบขนาน เช่นเดียวกับวงจรไฟฟ้า โดยทั้ง 2 แบบ ต้องติดตั้ง Check Valve ป้องกันการไหลย้อนกลับของของไหล (Back Flow) ซึ่งจะส่งผลให้ชิ้นส่วนของเครื่องสูบได้รับความเสียหายได้

การติดตั้งเครื่องสูบน้ำแบบอนุกรม เป็นการนำเครื่องสูบน้ำ หลายๆ เครื่อง มาเรียงต่อกัน เช่น เครื่องสูบน้ำตัวที่ 1 นำไปต่อกับ เครื่องสูบน้ำตัวที่ 2 และเรียงต่อกันไป แล้วแต่การออกเเบบ ว่าจะใช้กี่เครื่อง การต่อแบบอนุกรม จะมีทางเดินของของเหลวได้ทางเดียว
การติดตั้งเครื่องสูบน้ำแบบอนุกรมนั้น จะทำให้แรงดันในระบบมีค่าเพิ่มขึ้น แต่อัตราการไหลในระบบคงเดิม แรงดันที่เพิ่มขึ้น หาได้จากผลรวมของแรงดันในเครื่องสูบน้ำรวมกัน
การติดตั้งเครื่องสูบน้ำแบบขนาน เป็นการนำเครื่องสูบน้ำ หลายเครื่อง มาต่อรวมกัน จะกี่เครื่องแล้วแต่การออกเเบบ ของเหลวที่ไหลจะสามารถไหล ได้หลายทางขึ้นอยู่กับตัวของเครื่องสูบน้ำที่นำมาต่อขนานกัน ถ้าเกิดเครื่องสูบน้ำตัวใดตัวหนึ่งมีปัญหา ไม่สามารถใช้งานได้ เครื่องสูบน้ำตัวอื่นก็ยังสามารถทำงานได้อยู่
การติดตั้งเครื่องสูบน้ำแบบขนาน จะทำให้อัตราการไหลในระบบมีค่าเพิ่มขึ้น แต่แรงดันในระบบคงเดิม อัตราการไหลที่เพิ่มขึ้น หาได้จากผลรวมของอัตราการไหลเครื่องสูบน้ำมารวมกัน

หมายเหตุ ในทางปฎิบัติ ผลรวมของเครื่องสูบน้ำทั้งหมดจะมีค่าน้อยกว่า ผลลัพธ์ที่ได้จากทฤษฎี เนื่องจากการสูญเสียในระบบ

ติดตั้งปั๊ม แบบขนาด อนุกรม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม-เสนอราคาสินค้า

MOVE ENGINEERING COMPANY LIMITED
152/169 Pruksa Ville 67 Moo 13 Soi Petsakeam 91, Petkaseam Rd.,Omnoi Krathumbaen Samutsakorn 74130
MP: +6699-240-4197 II TEL/Fax : +662-408-9335 Line id : me7775
Email : info@moveengineer.com
Website : www.moveengineer.com

เลือกปั๊มน้ำสำหรับระบบ Sprinkler

เลือกปั๊มน้ำสำหรับระบบ Sprinkler

สำหรับระบบน้ำที่ใช้ระบบสปริงเกอร์ สำหรับพื้นที่การเกษตร เช่น แปลงพืชผัก แปลงพืชไร่ ระบบให้น้ำในโรงเรือน สวนผลไม้ สนามกีฬา ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ และสวนสาธารณะ และอื่นๆ ทุกระบบนั้นมีการใช้อุปกรณ์ที่แตกต่างกันไป

เครื่องสูบน้ำจึง เป็นหัวใจในการทำระบบน้ำ โดยมีหน้าที่นำน้ำจากแหล่งน้ำพร้อมเพิ่มแรงดันเข้าในระบบผ่านกรองน้ำ ท่อประธาน ท่อรองประธาน แยกไปท่อกิ่งส่งต่อไปยังหัวจ่ายน้ำ

ดังนั้นเครื่องสูบน้ำมีความสำคัญต่อระบบ จึงต้องทราบข้อมูลในการเลือกปั๊มน้ำที่จะมาใช้กับระบบสปริงเกอร์ เพื่อการใช้น้ำที่พอเพียงต่อทุกพื้นที่

  1. ต้องทราบพื้นที่ ที่วางระบบสปริงเกอร์ เช่น จำนวนโรง , จำนวนแปลง
  2. ปริมาณน้ำของสปริงเกอร์ และ จำนวนหัวสปริงเกอร์ที่ใช้
  3. ขนาดความยาวของท่อที่จะส่งน้ำ
  • ท่อเมน หรือท่อประธาน คือท่อที่มาจากปั๊มน้ำ ยาวไปจนถึงพื้นที่ที่ต้องการวางระบบสปริงเกอร์
  • ท่อรองประธาน คือ ท่อที่ส่งมาจากท่อเมนเพื่อส่งน้ำเข้าแต่ละพื้นที่
  • ท่อกิ่ง คือ ท่อที่ส่งน้ำเข้าหัวสปริงเกอร์ เพื่อทำการรดน้ำแต่ละพื้นที่
กรณียังไม่ทราบว่าจะใช้ท่อขนาด size ไหน ให้ทางผู้จำหน่ายปั๊มน้ำเป็นผู้แนะนำได้ แต่ต้องรู้ขนาดความยาวของท่อและปริมาณน้ำที่ใช้
sprinkler

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม-เสนอราคาสินค้า

MOVE ENGINEERING COMPANY LIMITED
152/169 Pruksa Ville 67 Moo 13 Soi Petsakeam 91, Petkaseam Rd.,Omnoi Krathumbaen Samutsakorn 74130
MP: +6699-240-4197 II TEL/Fax : +662-408-9335 Line id : me7775
Email : info@moveengineer.com
Website : www.moveengineer.com

วอเตอร์แฮมเมอร์ คืออะไร และการป้องกัน

วอเตอร์แฮมเมอร์ คืออะไร และการป้องกัน

วอเตอร์แฮมเมอร์ (Water Hammer) เป็นปรากฎการณ์ที่ความดันในท่อมีการเปลี่ยนแปลง อย่างรุนแรงและฉับพลัน โดยมีความดันเพิ่มขึ้นและลดลง จากความดันเดิมในลักษณะเป็นคลื่นขึ้นลงสลับกันไป เป็นอนุกรม

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดวอเตอร์แฮมเมอร์ คือการเปลี่ยนแปลงความเร็วของการในท่ออย่างกะทันหัน เช่น ปิดประตูน้ำ (Gate Valve) อย่างกระทันหัน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงความเร็วในลักษณะดังกล่าว โมเมนตัมของของเหลว (โมเมนตัม = ปริมาณการเคลื่อนที่ของวัตถุ) จะถูกเปลี่ยนไปกลายเป็นแรงกระแทกบนประตูน้ำ (Gate Valve) และผนังของท่อ แรงกระแทกที่เกิดขึ้น
ถ้าหากมากเกินกว่าความสามารถของท่อจะรับไว้ได้ก็จะทำให้ท่อระเบิด หรือทำให้ระบบท่อและอุปกรณ์เสียหายอย่างรุนแรงขึ้นได้ ระดับความเสียหายเนื่องจากวอเตอร์แฮมเมอร์ ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของท่อ ความเร็วของการไหล อัตราการเปลี่ยนแปลงความเร็วการไหล ลักษณะการยึดท่อให้อยู่กับที่ และระบบป้องกันวอเตอร์แฮมเมอร์ที่ติดตั้งไว้

สาเหตุ วอเตอร์แฮมเมอร์
สามารถทำได้โดยการลดความเร็วของเครื่องยนต์ลง จนอัตราการไหลน้อยมากแล้วจึงดับเครื่องยนต์ ในกรณีที่ต้นกำลังเป็นมอเตอร์มีการหมุนรอบคงที่ ก็ให้ใช้วิธีปิดประตูจ่ายน้ำลงทีละน้อย เช่นเดียวกัน
แต่การหยุดเดินเครื่องอย่างกระทันหัน หรือสาเหตุมาจาก กระแสไฟฟ้าขัดข้อง เป็นต้น ทำให้เกิดโอกาส วอเตอร์แฮมเมอร์ (Water Hammer) ได้ง่าย จึงควรมีอุปกรณ์ป้องกันช่วย

5 อุปกรณ์ป้องกันวอเตอร์แฮมเมอร์ (Water Hammer)

  1. Pressure Relief Valve วาล์วชนิดนี้ทำหน้าที่ จำกัดความดันระบบ หรือป้องกันอันตรายจากความดันในระบบที่สูงเกินไปให้มีค่าตามกำหนด คือ เมื่อความดันในท่อสูงกว่าที่กำหนดไว้ มันจะเปิดกว้างออกและระบายน้ำทิ้งเพื่อลดความดันลดลง ซึ่งการระบายน้ำทิ้งจะมีผลช่วยให้ลดความดันในท่อลง เหมาะสำหรับท่อที่มีขนาดไม่โตมาก
  2. Air Chamber เป็นอุปกรณ์ช่วยลดแรงกระแทกที่เกิดจากน้ำภายในท่อ (water hammer) มีลักษณะเป็นตัวถังบรรจุอากาศเข้ากับหลังท่อส่งน้ำ ทำหน้าที่ลดความรุนแรงเมื่อความดันเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน อากาศในถังซึ่งยืดหดตัวได้ดีกว่าน้ำ ก็จะทำหน้าที่ผ่อนคลายความรุนแรงลงเมื่อมีความดันเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน
  3. Air Inlet-Relief Valve วาล์วชนิดนี้ทำหน้าที่ เปิดให้อากาศไหลเข้ามาในท่อโดยอัตโนมัติ เมื่อความดันในท่อต่ำกว่าความดันของบรรยากาศ ซึ่งจะเป็นการป้องกันมิให้ท่อแบนลง อุปกรณ์ดังกล่าวนี้ยังใช้สำหรับ ระบายอากาศจากท่อด้วย โดยการติดตั้งไว้หลังท่อ บริเวณที่อยู่สูงกว่า แนวท่อส่วนอื่น อากาศที่ติดมากับน้ำ ก็จะไหลเข้าไปในอุปกรณ์นี้และ ทำให้ลูกลอยลดระดับลง วาล์วเปิดและอากาศก็จะถูกระบายออกไป การที่จำเป็นต้องระบายอากาศในท่อออกไปก็เพราะว่า ถ้าความเร็วของการไหลไม่มากพอ โพรงอากาศในท่อจะเป็นสิ่งกีดขวาง การไหลในช่วงดังกล่าวมีลักษณะเป็นการไหล ในทางน้ำเปิดแทนที่จะเป็นการไหลเต็มท่อ
  4. Surge Suppressor เป็นอุปกรณ์คล้ายกับ Air Chamber แต่จากที่เคยใช้อากาศเป็นตัวผ่อนคลายแรงดัน ก็เปลี่ยนไปใช้สปริงแทน อุปกรณ์ชนิดนี้ใช้กับท่อขนาดเล็ก เช่น ท่อน้ำใช้ในบ้าน
  5. Surge Tank เป็นถังช่วยลดความดันที่เพิ่มขึ้น จากวอเตอร์แฮมเมอร์ (Water Hammer) ในระบบขนาดใหญ่ซึ่งมีทั้ง เปิดด้านบนของถัง และแบบปิด สำหรับแบบเปิดนั้น ความสูงต้องมากพอที่จะไม่ให้น้ำไหลล้นออกมาได้ ส่วนในแบบปิดจะมีลักษณะคล้ายกับ Air Chamber แต่มีท่อขนาดเดียวกันกับท่อส่งน้ำเป็นตัวจ่าย น้ำเข้าถังอีกทีหนึ่ง การลดความรุนแรงของความดันจะถูกควบคุมโดยการไหลของน้ำเข้าไปใน Surge Tank และการยืดหดตัวของอากาศในถัง
ป้องกัน วอเตอร์แฮมเมอร์


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม-เสนอราคาสินค้า

MOVE ENGINEERING COMPANY LIMITED
152/169 Pruksa Ville 67 Moo 13 Soi Petsakeam 91, Petkaseam Rd.,Omnoi Krathumbaen Samutsakorn 74130
MP: +6699-240-4197 II TEL/Fax : +662-408-9335 Line id : me7775
Email : info@moveengineer.com
Website : www.moveengineer.com

ปั๊มน้ำสำหรับระบบ Transfer Pump

ปั๊มน้ำสำหรับระบบ Transfer Pump

เป็นระบบการจ่ายน้ำให้กับอาคาร โดยการสูบน้ำ ขึ้นไปเก็บ ไว้ในถังเก็บน้ำโดย ส่วนใหญ่ชุด Transfer Pump ตัวปั๊มจะอยู่ด้านล่าง เพื่อสูบน้ำจากถังเก็บน้ำใต้ดิน ขึ้นไปเก็บที่ถังบริเวณดาดฟ้า ระบบนี้เหมาะกับอาคารที่สูง และต้องการปริมาณน้ำมา

ระบบชุด Transfer pump จะประกอบด้วยปั๊ม 2 ตัว สำหรับอาคารขนาดเล็ก หรือ 3 ตัว สำหรับอาคารขนาดใหญ่ ควบคุมการทำงานโดยใช้ลูกลอยไฟฟ้า หรือก้าน Electrode (อิเล็คโทรด) ในการตัดต่อการทำงานของปั๊ม โดยฟังก์ชันในการทำงานนั้น ปั๊มจะทำงานสลับกัน การทำงานจะเหมือนกับ Booster Pump แต่ต่างตรงระบบ Transfer สูบน้ำไปเก็บไว้ที่ถังเก็บน้ำ ส่วน Booster Pump จะอัดจ่ายไปตามจุดต่างๆ
ทั้งนี้ระบบ Transfer Pump จะมีเป็นครบชุดบนแท่นฐานก็ได้ หรือ กรณีมีพื้นที่จำกัด ก็มีเฉพาะปั๊มและตู้คอนโทรล ไปแขวนด้านข้างกำแพง ก็ย่อมได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้งาน
สำหรับชุดนี้เป็น Set ทั้งระบบ Booster Pump และ ระบบ Transfer Pump

ข้อควรรู้ในการเลือกปั๊มน้ำสำหรับระบบ Transfer

  1. ถังเก็บน้ำขนาดกี่ลิตร/ใบ
  2. ขนาดท่อ Main ทางส่ง (กรณีติดตั้งใหม่ สามารถให้ทางผู้จัดจำหน่ายแนะนำขนาดของท่อได้)
  3. ตึกจำนวนกี่ชั้น (ถังเก็บน้ำอยู่ชั้นไหน)
  4. ความยาวแนวราบไปถึงถังเก็บน้ำ
ระบบ Transfer Pump


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม-เสนอราคาสินค้า

MOVE ENGINEERING COMPANY LIMITED
152/169 Pruksa Ville 67 Moo 13 Soi Petsakeam 91, Petkaseam Rd.,Omnoi Krathumbaen Samutsakorn 74130
MP: +6699-240-4197 II TEL/Fax : +662-408-9335 Line id : me7775
Email : info@moveengineer.com
Website : www.moveengineer.com

สาเหตุที่ปั๊มสั่นหรือมีเสียงดัง

สาเหตุที่ปั๊มสั่นหรือมีเสียงดัง

ปัญหาที่เกิดขึ้นในการใช้ปั๊มน้ำชนิด Centrifugal แบ่งออกเป็น 10 หัวข้อใหญ่ๆ ด้วยกัน ส่วนใหญ่แล้วมักจะมีสาเหตุมาจากทางด้านท่อดูด ยกเว้นการขัดข้องทางเครื่องกลของปั๊มน้ำ สาเหตุปั๊มสั่น หรือมีเสียงดังนั้น ก็เป็นหนึ่งสาเหตุ

สาเหตุที่ปั๊มสั่นหรือมีเสียงดัง มีสาเหตุดังนี้

  1. ในห้องสูบหรือท่อดูดมีน้ำไม่เต็ม
  2. ระยะดูดยก (Suction lift) สูงเกินไป
  3. NPSHa น้อยกว่า NPSHr
  4. ฟุตวาล์วอุดตัน หรือเล็กเกินไป
  5. ปลายท่อดูดอยู่ต่ำจากผิวของเหลวไม่มากพอ
  6. ปั๊มทำงานที่อัตราการสูบต่ำมาก
  7. มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปอยู่ในใบพัด, ใบพัดชำรุด
  8. เพลาของปั๊มและต้นกำลังไม่ได้ศูนย์ หรือเพลาคด
  9. แท่นปั๊มและต้นกำลังไม่แข็งแรง
  10. Bearing, Wearing ring สึก
  11. มีไข หรือน้ำมันหล่อลื่นในช่องที่ติดตั้ง Bearing มากเกินไป หรือมีการระบายความร้อนไม่ดีจึงทำให้มีอุณหภูมิสูง
  12. มีสิ่งสกปรกเข้าไปอยู่ในตลับลูกปืน หรือรองลื่น
  13. สนิมขึ้นในตลับลูกปืน เนื่องจากน้ำรั่วเข้าไป
  14. อุณหภูมิของน้ำที่สูบ เย็นมากทำให้ไอน้ำกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ ในช่องตลับลูกปืน
สาเหตุปั๊มเสียงดัง

สาเหตุการเกิดเสียงดังของปั๊มน้ำ เสียงดังที่เกิดจากการทำงานของปั๊มอาจทำให้น้อยลงได้ โดยการเลือกใช้ปั๊มน้ำให้เหมาะสมกับสภาพการทำงาน สาเหตุสำคัญที่ปั๊มมีเสียงดังขณะทำงานแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

สาเหตุทางชลศาสตร์
  • เกิดจากความแปรปรวนของการไหลภายในปั๊ม เกิดขึ้นมากเมื่อให้ปั๊มทำงานที่อัตราการสูบ หรือเฮดต่างจากจุดที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุดมาก การใช้งานลักษณะดังกล่าว ทำให้มีการเสียพลังงาน เนื่องจากความแปรปรวนภายใน และทำให้มีเสียงดังเกิดขึ้น ควรจะให้ปั๊มทำงานในช่วงที่เหมาะสม และไม่ควรให้ทำงานที่อัตราการสูบน้ำกว่า 20%
สาเหตุทางกลศาสตร์
  • เกิดจากเพลาของใบพัด และต้นกำลังไม่ได้ศูนย์ซึ่งกันและกัน การแก้ไขนั้นทำได้โดยการตั้งศูนย์ใหม่
  • น้ำหนักของใบพัดไม่สมดุล เกิดจากใบพัดชำรุด หรือมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปอุดตัน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม-เสนอราคาสินค้า

MOVE ENGINEERING COMPANY LIMITED
152/169 Pruksa Ville 67 Moo 13 Soi Petsakeam 91, Petkaseam Rd.,Omnoi Krathumbaen Samutsakorn 74130
MP: +6699-240-4197 II TEL/Fax : +662-408-9335 Line id : me7775
Email : info@moveengineer.com
Website : www.moveengineer.com