ควรเลือก "ปั๊มน้ำ" อย่างไร
Forums:
ในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคที่ผู้คนหนาแน่นขึ้น การใช้น้ำประปาโดยปราศจากปั๊มน้ำแล้วรอให้น้ำไหลมาตามปกติเพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอแน่ๆ ในขณะที่แทบทุกบ้าน อาคาร สถานที่รอบๆ ตัวเรามีการต่อปั๊มน้ำไว้ใช้งานกันหมดแล้ว ทำให้น้ำที่ไหลมาบ้านเรานั้นไหลอย่างเอื่อยๆ ช้า และเป็นลำน้อยมาก ด้วยเหตุนี้ เจ้าของที่อยู่อาศัยแทบทุกประเภท จำเป็นต้องมี “ปั๊มน้ำ” ติดตั้งไว้เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับการใช้น้ำภายในตัวบ้าน อาคาร หรือสถานที่นั้นๆ และเพื่อช่วยเสริมแรงดันน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำภายในบ้านด้วย ก่อนจะตัดสินใจเลือกซื้อปั๊มน้ำ ทางทีมงานมีคำแนะนำ หรือหลักการพิจารณาง่ายๆ ^__^ โดยเริ่มจากเก็บสะสมข้อมูลที่จำเป็น
ข้อมูลเบื้องต้นที่จำเป็น ได้แก่
1. จำนวนชั้นในบ้านหรือสถานที่ดังกล่าว ว่ามีความต้องการใช้น้ำอยู่กี่ชั้น (เพื่อบอกระยะความสูงที่จะส่งน้ำขึ้นไป)
2. จำนวนห้องน้ำ
3. จำนวนจุดต่อก๊อกน้ำในบริเวณต่างๆ (เช่น จำนวนจุดใช้น้ำในห้องครัว จำนวนเครื่องซักผ้า จำนวนจุดจ่ายน้ำล้างรถ และจำนวนจุดต่อสายยางรดน้ำต้นไม้ เป็นต้น)
4. จำนวนผู้อยู่อาศัยที่มีความต้องการใช้น้ำโดยประมาณ (ใช้ประกอบกับข้อ 2 และ 3 เพื่อบอกจำนวนจุด หรือก๊อกน้ำในการเปิดน้ำใช้พร้อมกัน และเพื่อบอกปริมาณการใช้น้ำสูงสุด ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง)
5. จำนวนเครื่องทำน้ำอุ่น (เพื่อบอกแรงดันน้ำที่ต้องการใช้)
6. ระบบไฟภายในบ้านหรือสถานที่นั้นๆ ว่าเป็นระบบไฟแบบไหน (ระบบไฟ 220V หรือ 380V)
7. ถังสำรองน้ำขนาดกี่ลิตร (เพื่อบอกว่ามีปริมาณน้ำที่จะสามารถใช้ได้ต่อเนื่องนานเท่าไร ในกรณีที่น้ำประปาไม่ไหล หรือ กรณีที่เราต้องการใช้น้ำในปริมาณมากๆ)
8. ขนาดท่อที่เดินภายในบ้าน (ขนาดท่อ Main และท่อที่ฝังในกำแพง)
1. จำนวนชั้นในบ้านหรือสถานที่ดังกล่าว ว่ามีความต้องการใช้น้ำอยู่กี่ชั้น (เพื่อบอกระยะความสูงที่จะส่งน้ำขึ้นไป)
2. จำนวนห้องน้ำ
3. จำนวนจุดต่อก๊อกน้ำในบริเวณต่างๆ (เช่น จำนวนจุดใช้น้ำในห้องครัว จำนวนเครื่องซักผ้า จำนวนจุดจ่ายน้ำล้างรถ และจำนวนจุดต่อสายยางรดน้ำต้นไม้ เป็นต้น)
4. จำนวนผู้อยู่อาศัยที่มีความต้องการใช้น้ำโดยประมาณ (ใช้ประกอบกับข้อ 2 และ 3 เพื่อบอกจำนวนจุด หรือก๊อกน้ำในการเปิดน้ำใช้พร้อมกัน และเพื่อบอกปริมาณการใช้น้ำสูงสุด ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง)
5. จำนวนเครื่องทำน้ำอุ่น (เพื่อบอกแรงดันน้ำที่ต้องการใช้)
6. ระบบไฟภายในบ้านหรือสถานที่นั้นๆ ว่าเป็นระบบไฟแบบไหน (ระบบไฟ 220V หรือ 380V)
7. ถังสำรองน้ำขนาดกี่ลิตร (เพื่อบอกว่ามีปริมาณน้ำที่จะสามารถใช้ได้ต่อเนื่องนานเท่าไร ในกรณีที่น้ำประปาไม่ไหล หรือ กรณีที่เราต้องการใช้น้ำในปริมาณมากๆ)
8. ขนาดท่อที่เดินภายในบ้าน (ขนาดท่อ Main และท่อที่ฝังในกำแพง)
เมื่อทราบข้อมูลเบื้องต้นแล้ว เราสามารถนำมาพิจารณา เพื่อเลือกปั๊มน้ำที่เหมาะกับบ้านเราได้ ดังนี้
สถานการณ์จำลอง: คุณเจน มีบ้านอยู่ 2 ชั้น 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ (ห้องน้ำแต่ละห้องต่างก็มีเครื่องทำน้ำอุ่น) ในห้องครัวมีก๊อก 3 จุด มีเครื่องซักผ้า 1 เครื่อง มีจุดก๊อกสำหรับรดน้ำต้นไม้ หรือใช้ล้างรถ 2 จุด บ้านหลังนี้มีสมาชิกในบ้านพักอยู่ทุกห้อง และปกติ จะทำอาหารทานกันเองเป็นประจำ มีการเปิดน้ำรดต้นไม้ทุกวัน และล้างรถทุกวันหยุดสุดสัปดาห์ด้วย - หากในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในบ้านหลังนี้ ใช้น้ำเกือบครบทุกจุด นั่นคือ มีผู้ใช้ห้องน้ำทั้งสองห้อง มีการล้างจาน รดน้ำต้นไม้ และล้างรถพร้อมๆ กัน สามารถคำนวณปริมาณน้ำที่ต้องการใช้ง่ายๆ ได้ ดังนี้
- จำนวนจุดใช้น้ำ ณ เวลานั้นคือ ใช้ห้องน้ำ 2 ห้อง ใช้น้ำล้างจาน 1 จุด รดน้ำต้นไม้ 1 จุด และล้างรถ 1 จุด เท่ากับว่า ** รวมเป็นใช้น้ำทั้งหมด ณ เวลานั้น 5 จุด **
- จากมาตรฐานการไหลของน้ำ (ขณะใช้งานอย่างสบายๆ) โดยทั่วไปแล้ว ก๊อกน้ำควรจะจ่ายน้ำอยู่ที่ 15 ลิตร/นาที และขณะนั้นควรมีแรงดันที่ 2.5-3.0 บาร์
- สมมติว่าทั้ง 5 จุดต้องใช้น้ำในปริมาณพอๆ กัน ดังนั้น ความต้องการใช้น้ำทั้งหมดในเวลานั้น คิดเป็น 75 ลิตร/นาที (=5×15) โดยขณะนั้นปั๊มต้องอัดแรงดันได้ประมาณ 2.5-3.0 บาร์ (เพราะว่ามีคนอาบน้ำด้วย)
สถานการณ์จำลอง: คุณเจน มีบ้านอยู่ 2 ชั้น 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ (ห้องน้ำแต่ละห้องต่างก็มีเครื่องทำน้ำอุ่น) ในห้องครัวมีก๊อก 3 จุด มีเครื่องซักผ้า 1 เครื่อง มีจุดก๊อกสำหรับรดน้ำต้นไม้ หรือใช้ล้างรถ 2 จุด บ้านหลังนี้มีสมาชิกในบ้านพักอยู่ทุกห้อง และปกติ จะทำอาหารทานกันเองเป็นประจำ มีการเปิดน้ำรดต้นไม้ทุกวัน และล้างรถทุกวันหยุดสุดสัปดาห์ด้วย - หากในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในบ้านหลังนี้ ใช้น้ำเกือบครบทุกจุด นั่นคือ มีผู้ใช้ห้องน้ำทั้งสองห้อง มีการล้างจาน รดน้ำต้นไม้ และล้างรถพร้อมๆ กัน สามารถคำนวณปริมาณน้ำที่ต้องการใช้ง่ายๆ ได้ ดังนี้
- จำนวนจุดใช้น้ำ ณ เวลานั้นคือ ใช้ห้องน้ำ 2 ห้อง ใช้น้ำล้างจาน 1 จุด รดน้ำต้นไม้ 1 จุด และล้างรถ 1 จุด เท่ากับว่า ** รวมเป็นใช้น้ำทั้งหมด ณ เวลานั้น 5 จุด **
- จากมาตรฐานการไหลของน้ำ (ขณะใช้งานอย่างสบายๆ) โดยทั่วไปแล้ว ก๊อกน้ำควรจะจ่ายน้ำอยู่ที่ 15 ลิตร/นาที และขณะนั้นควรมีแรงดันที่ 2.5-3.0 บาร์
- สมมติว่าทั้ง 5 จุดต้องใช้น้ำในปริมาณพอๆ กัน ดังนั้น ความต้องการใช้น้ำทั้งหมดในเวลานั้น คิดเป็น 75 ลิตร/นาที (=5×15) โดยขณะนั้นปั๊มต้องอัดแรงดันได้ประมาณ 2.5-3.0 บาร์ (เพราะว่ามีคนอาบน้ำด้วย)
สรุป: ปั๊มน้ำขนาดที่เหมาะสมสำหรับบ้านหลังนี้คือ ปั๊มน้ำที่จ่ายน้ำได้ประมาณ 75 ลิตร/นาที โดยที่ปั๊มต้องสามารถสร้าง แรงดันได้ประมาณ 3 บาร์ด้วย (หรือที่ 30 เมตร) –> ทั้งปริมาณน้ำ & แรงดันที่คำนวณได้นี้ ต้องเกิดขึ้นพร้อมกันทั้งสองอย่าง!! (คือได้ปริมาณน้ำและแรงดันน้ำในเวลาเดียวกัน)
ข้อควรระวัง :
1. ไม่ควรเลือกซื้อปั๊มโดยการบอกแรงม้า หรือวัตต์ของมอเตอร์ หรือบอกขนาดความโตของท่อดูด-ท่อจ่ายของปั๊มก่อน แต่ควรใช้วิธีคำนวณข้างต้นเป็นหลักในการเลือกขนาดของปั๊มน้ำที่ท่านต้องการ มิฉะนั้นท่านจะไม่ได้ปั๊มที่ตรงกับความต้องการ
2. โดยทั่วไปแล้ว ปั๊มน้ำที่มีมาตรฐาน ผู้ผลิตจะต้องระบุช่วงของปริมาณน้ำและแรงดันของปั๊มแต่ละรุ่นไว้บนแผ่นป้าย เช่น สูบน้ำได้ช่วง 10-120 ลิตร/นาที ทำแรงดันน้ำ (ส่งสูง) ได้ช่วง 35-5 เมตร เป็นต้น ซึ่งในการพิจารณาเลือกปั๊มน้ำนั้น ** ควรเลือกจากค่าเฉลี่ยหรือค่ากลางของปริมาณน้ำและแรงดันที่ต้องการ และ ไม่ควรดูที่ตัวเลขต้นสุดหรือปลายสุดของช่วงสเปกที่ระบุไว้ ** (หรือของเส้นกราฟแสดงการทำงานของปั๊มรุ่นนั้นๆ) เพราะจะทำให้ได้ประสิทธิภาพการทำงานของปั๊มที่ต่ำ กินไฟมาก หรือเกิดการสึกหรอสูง และควรเผื่อให้สูงกว่าที่คำนวณได้อีกประมาณ 10-15% (เนื่องจากท่อน้ำที่เดินฝังอยู่ในกำแพงบ้านมักจะเป็นท่อขนาดเล็กและมีจุดหักงอหลายจุด ซึ่งสร้าง
ค่าแรงฝืดทำให้น้ำไหลอ่อนลง)
1. ไม่ควรเลือกซื้อปั๊มโดยการบอกแรงม้า หรือวัตต์ของมอเตอร์ หรือบอกขนาดความโตของท่อดูด-ท่อจ่ายของปั๊มก่อน แต่ควรใช้วิธีคำนวณข้างต้นเป็นหลักในการเลือกขนาดของปั๊มน้ำที่ท่านต้องการ มิฉะนั้นท่านจะไม่ได้ปั๊มที่ตรงกับความต้องการ
2. โดยทั่วไปแล้ว ปั๊มน้ำที่มีมาตรฐาน ผู้ผลิตจะต้องระบุช่วงของปริมาณน้ำและแรงดันของปั๊มแต่ละรุ่นไว้บนแผ่นป้าย เช่น สูบน้ำได้ช่วง 10-120 ลิตร/นาที ทำแรงดันน้ำ (ส่งสูง) ได้ช่วง 35-5 เมตร เป็นต้น ซึ่งในการพิจารณาเลือกปั๊มน้ำนั้น ** ควรเลือกจากค่าเฉลี่ยหรือค่ากลางของปริมาณน้ำและแรงดันที่ต้องการ และ ไม่ควรดูที่ตัวเลขต้นสุดหรือปลายสุดของช่วงสเปกที่ระบุไว้ ** (หรือของเส้นกราฟแสดงการทำงานของปั๊มรุ่นนั้นๆ) เพราะจะทำให้ได้ประสิทธิภาพการทำงานของปั๊มที่ต่ำ กินไฟมาก หรือเกิดการสึกหรอสูง และควรเผื่อให้สูงกว่าที่คำนวณได้อีกประมาณ 10-15% (เนื่องจากท่อน้ำที่เดินฝังอยู่ในกำแพงบ้านมักจะเป็นท่อขนาดเล็กและมีจุดหักงอหลายจุด ซึ่งสร้าง
ค่าแรงฝืดทำให้น้ำไหลอ่อนลง)