โดยทั่วไปแล้วปั๊มน้ำหอยโข่งจะถูกนำไปใช้งานในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการสูบน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค หรือแม้กระทั่งสูบน้ำเสียที่มีอนุภาคของแข็งปะปนก็ตาม จึงทำให้ลักษณะของใบพัดในปั๊มเหล่านี้แตกต่างกันออกไป โดยแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะดังนี้
- ใบพัดแบบปิด (Closed Impeller) : เป็นรูปแบบใบพัดที่ใช้งานกันทั่วไปในปั๊มหอยโข่ง โดยใช้แผ่นเหล็ก 2 ชิ้น ประกบครีบใบพัดทำให้เกิดช่องว่างเพื่อรองรับการไหลของของเหลว นอกจากนั้นยังทำให้ประสิทธิภาพของการไหลดีกว่าใบพัดประเภทอื่นอีกด้วย แต่ใบพัดลักษณะนี้รองรับเพียงประเภทของเหลวที่เป็นน้ำสะอาดเท่านั้น
- ใบพัดแบบกึ่งเปิด (Semi-open Impeller) : การออกแบบของใบพัดประเภทนี้จะต่างจากใบพัดแบบปิดเพียงเล็กน้อยในส่วนของแผ่นเหล็กที่ติดกับครีบใบพัดจะลดลงเหลือ 1 ชิ้นทำให้มีประสิทธิภาพในการทำงานต่ำกว่าใบพัดแบบปิด และสามารถรองรับการไหลของของเหลวที่มีอนุภาคของแข็งปะปนได้บางส่วนรวมถึงรองรับของเหลวที่มีความหนืดได้เช่นกัน
- ใบพัดแบบเปิด (Open Impeller) : เป็นรูปแบบใบพัดที่มีเพียงครีบใบพัดอย่างเดียว และไม่มีแผ่นเหล็กยึดทำให้ใบพัดแบบเปิดสามารถรองรับอนุภาคของแข็งที่ขนาดใหญ่ขึ้นได้ แต่ด้วยลักษณะของใบพัดจึงรับแรงกระแทกจากของเหลวได้น้อยกว่า 2 แบบแรกจึงทำให้ปั๊มเหล่านี้มีขนาดที่เล็ก และมีประสิทธิภาพที่ต่ำ นอกจากนั้นความถี่ของมอเตอร์ที่ใช้ต้องลดลงด้วยเพื่อป้องกันการแตกหักของใบพัด
การเลือกใช้ใบพัดของปั๊มน้ำหอยโข่งแต่ละประเภทจึงค่อนข้างคล้ายกันกับการเลือกปั๊มน้ำ แต่เจาะลึกลงไปในรายละเอียดของเหลวทางดูดนั่นเอง โดยดูเพิ่มเติมในเรื่องของอนุภาคของแข็งที่ปะปนมาในของเหลว และความหนืดของของเหลวเท่านั้นเองครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น