วัสดุที่ใช้เป็นหน้าสัมผัส แมคคานิคอลซีล
กรุณาดู ส่วนประกอบของ แมคคานิคอลซีล มีอะไรบ้าง ก่อนอ่านหัวข้อนี้
วัสดุ ที่นำมาผลิต เป็นหน้าสัมผัส(seal face) แมคคานิคอลซีล ที่นิยมกันในปัจจุบัน มีดังต่อไปนี้
1. คาร์บอน กราไฟต์ หรือที่นิยมเรียกสั้นๆว่า คาร์บอน (Carbon-graphite) เป็นวัสดุที่นิยมนำมาทำเป็น หน้าสัมผัสในอันดับต้นๆ โดยนำมาทำเป็นหน้าสัมผัสด้านใดด้านหนึ่ง ส่วนใหญ่มักนำมาทำเป็น หน้าสัมผัสด้านหมุน (rotary seal face) เนื่องจากมีน้ำหนักเบา เกรดที่นิยมใช้ใน แมคคานิคอลซีลมีอยู่ 2 เกรด คือ Resin Impregnated Grade และ Antimony Impregnated Grade
2. เซรามิค (Alumina (Aluminium Oxide)) เป็นวัสดุ หน้าแข็ง (hard seal face) ที่ไม่ใช่โลหะ ตัวแรก ที่นำมาผลิตเป็น หน้าสัมผัส แมคคานิคอลซีล ข้อดีคือ ราคาถูก ทนการสึกหรอได้ดี ทนสารเคมีได้ดี (ความสามารถในการทนสารเคมีขึ้นอยู่กับเกรด ของเซรามิคที่ใช้)
3. ทังเสตนคาร์ไบด์ (Tungsten Carbide) แบ่งเป็น 2 เกรด ตามสารที่ใช้เป็นตัวประสาน คือ โคบอลท์ (Cobalt bonded) และ นิเกิล (Nickel bonded) ทังเสตนคาร์ไบด์ เป็นสารประกอบโลหะที่มีความแข็ง และไม่เปราะแตกง่าย แต่มีคุณสมบัติในการทนต่อกรด ไม่ค่อยดี โดย ทังเสตนคาร์ไบด์ที่ใช้ นิเกิล เป็นตัวประสาน เหมาะกับสารเคมีที่มีค่า ph มากกว่า 6 ขึ้นไป และ ตัวที่มี โคบอลท์ เป็นตัวประสาน เหมาะกับสารเคมีที่มีค่า ph ตั้งแต่ 7 เป็นต้อนไป
4. ซิลิคอน คาร์ไบด์ (Silicon Carbide) ปัจจุบันมีความนิยมใช้กันมาก เนื่องจากมีข้อดี หลายประการ และราคาถูกกว่า ทังสเตนคาร์ไบด์ ทนสารเคมี ได้ดีกว่า น้ำหนัก เบากว่า ทนการสึกหรอได้ดีกว่า
5. PTFE (Polytetrafluoroethylene ตัวที่รู้จักกันดีคือ Teflon ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์ ที่ผลิตโดย บริษัทลูกของ Dupont) มีข้อเด่นคือ สามารถทนสารเคมีได้เกือบทุกชนิด แต่มีข้อเสียคือ มีความแข็งแรง น้อยกว่าวัสดุ ตัวอื่นๆ จึงนิยม ผสมสารอื่น เข้าไปเพื่อเพิ่มความแข็งแรง ให้แก่ PTFE ตัวอย่างเช่น Fiber Glass
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น