เลือกปั๊มน้ำต้องรู้ NPSH

เลือกปั๊มน้ำต้องรู้ NPSH

NPSH(Net Positive Suction Head) คือ ค่าที่มีไว้เพื่อแสดงถึงสมรรถนะการดูดน้ำของปั๊มน้ำ NPSH จะมี 2 ค่า คือ

  1. NPSHa (Net Positive Suction Head Available) คือค่าที่แสดงถึงความเอื้อต่อการดูดน้ำของระบบ เป็นค่าที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามการติดตั้งปั๊มและท่อ เช่น ท่อที่มีขนาดใหญ่ปั๊มจะสามารถดูดน้ำได้ดีกว่าท่อดูดที่มีขนาดเล็ก นั้นหมายความว่าท่อขนาดใหญ่จะส่งผลทำให้ค่า NPSHa สูงขึ้น
  2. NPSHr (Net Positive Suction Head Require) คือค่าสมรรถนะการดูดของปั๊ม จะแสดงให้เห็นถึงแรงดันที่ต้องการนำเข้ามาโดยเครื่องสูบ ในการไหลที่กำหนด เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโพรงอากาศในของเหลว โดยปกติค่า NPSHr ผู้ใช้งานปั๊มจะไม่สามารถปรับแก้ค่านี้ได้เหมือนกับ NPSHa เพราะเป็นค่าที่ถูกกำหนดมาจากผู้ผลิตปั๊ม ซึ่งค่านี้เป็นค่าที่ส่งผลมาจากการออกแบบปั๊ม เช่น รูปแบบของใบพัด ชนิดของวัสดุ รอบหรือกำลังของมอเตอร์ เป็นต้น

ทั้งนี้ หัวใจสำคัญของการคำนวณ NPSH คือ NPSHa จะต้องมีค่ามากว่า NPSHr เสมอ ถ้าหาก NPSHr มีค่ามากกว่า NPSHa จะส่งผลให้เกิดโพรงอากาศในปั๊ม (Cavitation)


NPSH

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม-เสนอราคาสินค้า

MOVE ENGINEERING COMPANY LIMITED
152/169 Pruksa Ville 67 Moo 13 Soi Petsakeam 91, Petkaseam Rd.,Omnoi Krathumbaen Samutsakorn 74130
MP: +6699-240-4197 II TEL/Fax : +662-408-9335 Line id : me7775
Email : info@moveengineer.com
Website : www.moveengineer.com

ปัญหาที่เกิดขึ้นในการใช้ปั๊มน้ำชนิด Centrifugal

ปัญหาที่เกิดขึ้นในการใช้ปั๊มน้ำชนิด Centrifugal

ปัญหาที่เกิดขึ้นในการใช้ปั๊มน้ำชนิด Centrifugal แบ่งออกเป็น 10 หัวข้อใหญ่ๆ ด้วยกัน ส่วนใหญ่แล้วมักจะมีสาเหตุมาจากทางด้านท่อดูด ยกเว้นการขัดข้องทางเครื่องกลของปั๊มน้ำ สาเหตุปั๊มจ่ายน้ำออกมาน้อย ก็เป็นหนึ่งสาเหตุ

ปั๊มจ่ายน้ำออกมาน้อย สาเหตุมาจาก

  • ในห้องสูบหรือท่อดูดมีน้ำไม่เต็ม
  • ระยะดูดยก (Suction lift) สูงเกินไป
  • NPSHa น้อยกว่า NPSHr
  • มีฟองอากาศหรือก๊าซในของเหลวมากเกินไป
  • มีโพรงอากาศ (Air Pocket) ในท่อดูด
  • ท่อดูดรั่ว อากาศเข้าไปในท่อได้
  • อากาศรั่วเข้าไปในห้องสูบผ่านตลับอัดกันรั่ว (Stuffing box)
  • ฟุตวาล์วเล็กเกินไป , ฟุตวาล์วอุดตัน
  • ปลายท่อดูดอยู่ต่ำจากผิวของของเหลวไม่มากพอ
  • ความเร็วต่ำเกินไป
  • Head รวมของระบบสูงกว่าเฮดของปั๊มที่ออกแบบไว้
  • ความหนืด (Viscosity) ของของเหลวต่างจากที่ได้ออกแบบไว้
  • ให้ปั๊มที่ไม่เหมาะสมทำงานร่วมกันแบบขนาน
  • มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปติดอยุ่ในใบพัด
  • แหวนกันสึก (Wearing ring) สึกมาก
  • ใบพัดชำรุด
  • กันรั่ว (Gasket) ของห้องสูบชำรุด ทำให้มีการรั่วภายใน

จ่ายน้ำน้อย


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม-เสนอราคาสินค้า

MOVE ENGINEERING COMPANY LIMITED
152/169 Pruksa Ville 67 Moo 13 Soi Petsakeam 91, Petkaseam Rd.,Omnoi Krathumbaen Samutsakorn 74130
MP: +6699-240-4197 II TEL/Fax : +662-408-9335 Line id : me7775
Email : info@moveengineer.com
Website : www.moveengineer.com

การตรวจเช็คปั๊มน้ำ

การตรวจเช็คปั๊มน้ำเป็นประจำ

การตรวจเช็คปั๊มน้ำเป็นประจำนั้น สามารถช่วยให้ปั๊มมีอายุการใช้งานที่ยาวนานได้ และไม่ต้องหยุดทำงานเพื่อซ่อมแซมบ่อย การตรวจสอบและการบำรุงรักษา อาจแบ่งออกเป็นการตรวจสอบประจำวัน การตรวจทุก 3 เดือน การตรวจสอบทุก 6 เดือน และการตรวจสอบประจำปี ดังต่อไปนี้

รายการที่ตรวจทุกวัน

  • อุณหภูมิที่ผิวของbearing ตรวจอุณหภูมิโดยใช้เครื่องมือวัดอุณหภูมิ
  • ความดันด้านดูดและความดันจ่าย ควรใช้เกจวัดความดันบวก เกจวัดความดันลบ
  • การรั่วจากซีลสังเกตุด้วยตา
  • ปริมาณน้ำมันหล่อลื่นในเสื้อของรองลื่น และการหมุนของแหวนน้ำมันสังเกตด้วยสายตา
  • การสั่นสะเทือนและเสียงจับดูด้วยมือ หรือใช้หูฟัง จากประสบการณ์ของช่าง ถ้าอุณหภูมิปกติใช้หลังมือแตะประมาณ 5 วินาที หากทนได้แสดงว่าปกติ

รายการที่ตรวจทุก 3 เดือน

  • เปลี่ยนน้ำมันในตลับ bearing
  • ตรวจจารบี จารบีเสื่อมสภาพก็ต้องเปลี่ยน

รายการที่ตรวจทุก 6 เดือน

  • ตรวจที่อัดกันรั่วและปลอกเพลาตรงที่อัดกันรั่ว ถ้าเกิดร่องลึกขึ้นที่ปลอกเพลา เนื่องจากการสึกหรอ จะต้องเปลี่ยนทั้งที่อัดกันรั่ว และปลอกเพลา
  • สภาพของการต่อตรงระหว่างเครื่องสูบ และมอเตอร์ตรวจเช็คบริเวณ coupling ถ้าเปลี่ยนไปจาก สภาพเริ่มใช้งานเกินเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ก็ต้องตั้งศูนย์ใหม่

รายการที่ตรวจทุกปี

  • สภาพของการสึกหรอของชิ้นส่วนที่หมุนโดยเฉพาะ ตรงช่องว่างเล็กๆที่แหวนกันสึก
  • สภาพของการขึ้นสนิมภายในเสื้อปั๊ม
  • สภาพของวาล์วที่มีชิ้นส่วนเคลื่อนที่เช่น check valve gate valve
  • ต้องตั้งศูนย์ระหว่างมอเตอร์และปั๊มทุกครั้ง ที่มีการถอดปั๊มและมอเตอร์ออกจากกัน
  • วัดความต้านทานของฉนวนของมอเตอร์ จุ่มน้ําหลังจากถอดออกตรวจและประกอบกลับเข้าไป ทั้งนี้เราควรจดบันทึกข้อมูลในการตรวจเช็คทุกครั้ง เพื่อนำมาวางแผนในการซ่อมบำรุงครั้งต่อๆไป
รายการตรวจสอบดังกล่าวนี้ ควรจะขอจากบริษัทผู้ผลิตปั๊มเพราะว่า วิธีการอาจจะแตกต่างกันไปบ้างสำหรับปั๊มแต่ละแบบ

check pump


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม-เสนอราคาสินค้า

MOVE ENGINEERING COMPANY LIMITED
152/169 Pruksa Ville 67 Moo 13 Soi Petsakeam 91, Petkaseam Rd.,Omnoi Krathumbaen Samutsakorn 74130
MP: +6699-240-4197 II TEL/Fax : +662-408-9335 Line id : me7775
Email : info@moveengineer.com
Website : www.moveengineer.com